Back

อีลอน มัสก์ กับ Neuralink

อีลอน มัสก์ กับ Neuralink บุคคลแห่งปี 2021 และโปรเจคฝังชิปมนุษย์

ปัจจุบัน ในวงการการแพทย์ค่อนข้างมีเทคโนโลยีที่ก้าวไกล และพัฒนาต่อยอดไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งเรื่องโควิด-19 วัคซีน ยารักษาโรค แต่ใครจะรู้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยีการแพทย์จะมีการก้าวไปอีกขั้นในแนวคิดและโปรเจค “ฝังชิปในมนุษย์ หรือ Brain chip” โปรเจคนี้จะเป็นเพียงการตลาด หรือเป็นความหวังของมนุษยชาติได้

อีลอน มัสก์ กับ Neuralink บุคคลแห่งปี 2021 และโปรเจคฝังชิปมนุษย์

อีลอน มัสก์ (Elon Musk)

อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้ประกอบการเจ้าของบริษัทสตาร์ทอัพ “นูราลิงค์” (Neuralink) เดินหน้าโครงการเชื่อมต่อสมองมนุษย์เข้ากับคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในปี 2565 นี้ เพื่อบันทึกและกระตุ้นการทำงานของสมองไปพร้อม ๆ กัน โดยหวังจะใช้ประโยชน์ในเชิงการแพทย์ การรักษาโรค เช่น มะเร็ง หลอดเลือดสมอง อัมพาต ความจำเสื่อมและโรคอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยสูญเสียการควบคุมของร่างกาย อย่าง การบาดเจ็บที่ไขสันหลังอย่างรุนแรงและความผิดปกติทางระบบประสาท

ทำไมผมจะไปตายที่ดาวอังคารไม่ได้?

คำคม อีลอน มัสก์

ทดลองกับลิง

โดยเริ่มแรกโปรเจคนี้มีการทดสอบกับลิงก่อน ซึ่งเขาได้ฝังชิปไร้สายบนสมองของลิง ผลปรากฏว่าลิงตัวนั้น สามารถเล่นเกมได้โดยผ่านความคิดของมันเอง และไม่มีความรู้สึกอึดอัด หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ แสดงออกมา

เพื่อเป็นการยืนยันว่าโปรเจคนี้ปลอดภัย เชื่อถือได้ และอุปกรณ์ของนูราลิงค์ สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย และเขาหวังว่าจะมีสิ่งนี้ในมนุษย์เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องรอการอนุมัติขององค์การอาหารและยาของสหรัฐก่อน (FDA)

การทำงานกับสมอง

นอกจากนี้ยังมีการอธิบายเพิ่มเติมเรื่อง การทำงานระหว่างชิปกับสมองว่า สมองสามารถสั่งงานผ่านชิป ผ่านระบบเส้นประสาทด้วยการส่งสัญญาณไฟฟ้ามาถึงชิป โดยเส้นประสาทจะส่งสัญญาณเคมีบางชนิดมาช่วยกระตุ้น และหากมีการฝังชิปในสมองส่วนต่าง ๆ ก็เหมือนกับการเชื่อมระหว่างสมองผ่านมายังระบบคอมพิวเตอร์ หากสมองส่วนไหนบกพร่องหรือพิการ ชิปส่วนนี้จะทำหน้าที่ทดแทนได้

หรือก็คือ สิ่งที่เราเห็นไม่ได้เห็นจากดวงตา แต่จะเป็นภาพในสมองแทน ฉะนั้น การมองเห็นบางครั้งมันอาจจะมาจากความเป็นจริงตรงหน้า หรือ บางทีเป็นสิ่งที่เราจินตนาการขึ้นมาเอง

โปรเจค Neuralink

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น คงต้องมาลุ้นกันว่าโปรเจคนี้ จะได้มีการนำออกมาใช้กับผู้ป่วยจริงหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยง เกินความคาดหมาย มีความเป็นไปได้ค่อนข้างยาก และอาจมีข้อโต้แย้งในอนาคต แต่ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม หรือเป็นธุรกิจที่รักษาโรคที่หายยากให้พวกเขาได้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้

เขียนและเรียบเรียงโดย : Jithlada Donchai

ภาพโดย : Sofia Htk

karnnikro
karnnikro
https://tedxbangkhunthian.com
Karnnikro | License Holder of TEDxBangKhunThian

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This website stores cookies on your computer. Cookie Policy