Zero waste: ในวันนี้ TEDxBangkhunthian อยากมาแนะนำแนวคิดรักษ์โลกอีกหนึ่งวิธี ให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักมากขึ้นกัน บางคนอ่านจะคุ้นหูคุ้นตากันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจกับแนวคิดนี้ เราเลยอยากจะมาแชร์อีกครั้งหนึ่งกับวิถี Zero Waste เพื่อช่วยโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้น!
- เที่ยวสาย Green แบบคนยุคใหม่ เที่ยวยังไงให้ได้อนุรักษ์ธรรมชาติ
- ส่อง 5 วัสดุชีวภาพ ที่สามารถใช้แต่งบ้านได้!
How wonderful it is that nobody need wait a single moment before starting to improve the world.
คำคม Anne Frank
มันคงเป็นการดี ถ้าไม่มีใครต้องรอเวลาแม้แต่นิดเดียว
เพื่อที่จะทำให้โลกของเราดีขึ้น
Zero weste
Zero Waste คือ แนวคิดที่ต้องการลดปริมาณขยะให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่สร้างขยะเลย หัวใจหลักคือการกำจัดขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเน้นที่การลดปริมาณ การใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น การใช้ซ้ำ และการคัดแยกเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ ก่อนที่จะนำขยะเหล่านั้นไปกำจัด เพื่อทำให้ของเหลือใช้หรือขยะเหล่านั้นเกิดประโยชน์สูงสุด
สาเหตุเพราะ ขยะแต่ละชนิดจะมีมูลค่าขึ้นมาต่อเมื่อมันถูกคัดแยก จัดสรร และจัดการรวมกันตามชนิดของตัวเอง หากเรานำขยะทั้งหมดมารวมกันในที่เดียวโดยไม่มีการทำอะไรเลย จะทำให้มีการปะปน หรือปนเปื้อนที่ไม่ถูกไม่ควร เช่น ขยะเปียกปะปนกับพลาสติก หรือกระดาษ ที่สามารถนำไปรียูสได้ เป็นต้น โดยใช้แนวคิดแบบ 1A3R ดังนี้
- Avoid หลีกเลี่ยงการใช้งานของที่ทำให้เกิดขยะ
- Reduce ลดวัสดุที่ทำให้เกิดขยะ
- Reuse นำของทีใช้แล้วมาใช้ใหม่
- Recycle หมุนเวียนของที่ใช้ไปแล้ว แปรรูปของให้นำมาใช้ใหม่ได้
และเราสามารถสร้าง Zero Waste ด้วยตัวเราเองได้ง่าย ๆ เช่น การลดใช้ถุงพลาสติกหรือใช้ถุงผ้าแทน, หลีกเลี่ยงการใช้ช้อน ส้อม พลาสติก, คัดแยกขยะก่อนทิ้ง เริ่มจากการคัดแยกง่าย ๆ อย่างขวด กล่องนม โฟม และถุงพลาสติก จนไปถึงการจัดการเศษอาหาร ซึ่งสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ย ทำดิน เพื่อปลูกต้นไม้ เป็นต้น
กรณีศึกษา
นอกจากนี้เรายังมีตัวอย่างวิถี zero waste จากต่างประเทศมาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน เพราะมีหลาย ๆ ประเทศที่ริเริ่มการใช้ชีวิตแบบการลดขยะ จะมีประเทศไหนกันบ้างไปดูกันเลย
“สวีเดน” ขยะหมดประเทศจนต้องนำเข้ากว่า 8 แสนตันต่อปี
ในปี 1940 ประเทศสวีเดน ได้ริเริ่มโครงการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ ผ่านความร่วมมือของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลสวีเดนในการบรรลุเป้าหมาย Zero Waste ภายในปี 2020 เนื่องจากความชัดเจนในการออกระเบียบข้อบังคับในเรื่องการกำจัดขยะ โดยห้ามเผา จำกัดการปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตราย การนำกลับมาใช้ใหม่แทนการฝั่งกลบ การรีไซเคิล และการนำเอาขยะมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงใช้ในประเทศ รวมไปถึงการลงทุนกับการวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะ จนสามารถสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2.2 ล้านตันต่อปี และประชาชนชาวสวีเดนกว่า 9.5 ล้านคน พร้อมใจกันแยกขยะ จัดการขยะภายในครัวเรือนของตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้อย่างพร้อมเพียง สู่ความสำเร็จในการจัดการขยะได้ในที่สุด
“คามิคัทสึ” ต้นแบบเมืองบ้านปลอดขยะ
สำหรับเมืองต้นแบบ “คามิคัทสึ” เมืองเล็ก ๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น แนวคิด Zero Waste ถูกริเริ่มนำมาใช้ในปี 2003 จากความไม่เป็นระบบระเบียบในการจัดการขยะภายในชุมชน จึงได้มีการรณรงค์คัดแยกขยะภายในครัวเรือน ซึ่งในช่วงแรก สิ่งที่ยากที่สุด คือ การปรับทัศนคติของประชาชนกว่า 1,500 คน ให้มีการตระหนักรู้ และเกิดการปฏิบัติ เพราะที่นี่เขามีการแยกขยะกว่า 45 ชนิดเลยทีเดียว พร้อมกับมีการจัดตั้งสถานีแยกขยะไว้ในชุมชนอีกด้วย โดยมีการตั้งเป้าให้เมืองเล็กๆ แห่งนี้ เดินหน้าสู่เมืองปลอดขยะ หรือ Zero Waste ภายในปี 2020 โดย คามิมัทสึ สามารถจัดการกับขยะได้กว่า 80% ด้วยการรีไซเคิล ทำปุ๋ย และนำกลับมาใช้ซ้ำ โดยที่เหลืออีก 20% ถูกนำไปฝังกลบ สามารถลดต้นทุนในการจัดการขยะลงมาเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
“ฝรั่งเศส” ห้ามซูเปอร์มาร์เก็ตทิ้งเศษอาหาร
ด้านฝรั่งเศสนับเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเรื่องของ Food Waste และถือเป็นประเทศแรกของโลกที่มีวิธีจัดการกับอาหารเหลือ ๆ ได้อย่างมีประโยชน์มากที่สุด และทางรัฐบาลได้ออกกฎหมายห้ามซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ ทิ้งเศษอาหารเด็ดขาด เพราะหากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงถึง 4,500 เหรียญ ซึ่งบรรดาห้างใหญ่ ๆ กว่า 9,000 แห่งทั่วประเทศ จับมือเป็นพันธมิตรกับมูลนิธิต่าง ๆ กว่า 5,000 แห่ง เพื่อบริจาคอาหารก่อนวันหมดอายุ อาทิ โยเกิร์ต พิซซ่า ผลไม้ นม และชีส นำไปแจกจ่ายแก่คนยากไร้ นอกจากนี้ ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับ Food Sustainability แก่นักเรียนนักศึกษา และบรรดาบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ต้องรายงานการทิ้งเศษอาหารในรายงานสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงผู้ประกอบการร้านอาหารต้องเตรียมถุงให้ลูกค้าห่ออาหารเหลือกลับบ้าน ทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศที่สามารถจัดการกับเศษอาหาร หรือ Food Waste ได้อย่างมีประสิทธิภาพแห่งหนึ่งของโลกเลยทีเดียว
All in all
เพื่อน ๆ คิดอย่างไรกันบ้างกับแนวคิด zero waste ไม่ยากเลยใช่ไหมละ! แถมยังสามารถทำได้ด้วยตัวเองด้วย ไม่ต้องรอหรือต้องใช้อุปกรณ์อะไรมากมายเลย ขอแค่เรามีความรับผิดชอบและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว แค่นี้ก็ช่วยให้ขยะในโลกลดลงไม่มากก็น้อยแล้ว : )
FB : TEDxBangkhunthian
IG : tedxbangkhunthian
เขียนและเรียบเรียงโดย : Jithlada Donchai
ภาพโดย : Sofia
References