Body Neutrality ฉันยอมรับตัวฉันในแบบที่ฉันเป็น

0
37
Body Neutrality
Body Neutrality

เคยไหม รู้สึกเจ็บปวดจากมาตรฐานความงามของสังคม พยายามคิดบวกยังไง สุดท้ายก็ยังรู้สึกว่าตนเองดีไม่พอ วันนี้เรามาชวนทุกคนคุยเกี่ยวกับเรื่อง “มาตรฐานความงาม” หรือ “Beauty Standard”

ในสังคมที่นำค่านิยมที่มองเรื่องความหล่อ ความสวยเพียงมิติเดียว 

มาตัดสินคนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งการที่เรานำค่านิยมตรงนั้นมาตัดสินตัวเอง โดยลืมไปว่าโลกใบนี้มีประชากร 7,900 ล้านคน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เราสามารถจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นพิมพ์เดียวกันได้หมด เพราะโดยธรรมชาตินั้นมนุษย์มีความหลากหลาย 

Miss Universe ปีล่าสุด

ในการจัดอีเว้นท์ประกวด Miss Universe ปีล่าสุดนั้น ตัวแทนประเทศไทยอย่าง แอนชิลี สก็อต-เคมมิสก็ได้ทำหน้าที่จุดประกายในเรื่องของ #RealsizeBeauty ไม่ว่าเราจะมีรูปร่างแบบไหน น้ำหนักเท่าไร ทุกคนต่างมีความสวยในแบบของตนเอง ที่แตกต่างและไม่ซ้ำใคร 

“ขาใหญ่มีเซลลูไลท์แล้วยังไง ขาสองข้างของเรานี้ก็มีความสวยในแบบของเรา”

คำคม

เราเรียกสิ่งนี้ว่า Body Positivity คือ การมองร่างกายของตัวเองไปในทิศทางบวก แม้ว่าจะไม่ตรงตาม Beauty Standard ที่สังคมกำหนดไว้ เราก็สามารถบอกตนเองได้ว่าเรามีความงามที่ดีพอแล้ว ซึ่งเป็นการโปรแกรมความคิดของตัวเองที่ดีมากทีเดียว แต่ทั้งนี้เราอาจปฏิเสธไม่ได้ว่า Beauty Standard ยังคงถูกหยิบมาใช้ในสังคม

เช่น สื่อโฆษณาต่าง ๆ ที่ยกนำมาตรฐานความงามมาใช้เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าบริการของตน

“ไม่อยากให้หน้าแก่ก่อนวัย ต้องใช้ครีมของเรา”

“มีหุ่นเอวเอสได้ง่าย ๆ ถ้าใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา”  

รวมถึงการเข้าถึงโอกาส ที่หลาย ๆ ครั้ง Beauty Standard กลายเป็นอภิสิทธิ์

เช่น การคัดเลือกคณะผู้นำเชียร์จากหน้าตาในงานกีฬาสี การคัดเลือกนักแสดงโดยคำนึงถึงความสามารถเป็นรอง ทั้งนี้ยังมีงานวิจัยต่าง ๆ ที่ระบุว่าคนหน้าตาดีตามมาตรฐานความงามมีโอกาสที่จะถูกจ้างงานกว่าคนหน้าตาธรรมดา

“แค่คุณมีรูปร่าง หน้าตา ที่สวยหล่อตรงตามค่านิยมของสังคมก็ได้รับสิทธิพิเศษกว่าคนอื่นแล้ว”

เป็นเหตุให้ Beauty Standard พัฒนามาเป็น Beauty Privilege สิทธิพิเศษด้านความงามที่กดทับผู้คน ผลักคนนับล้านออกไปชายขอบ ซึ่งการถูกปฏิบัติที่แตกต่างเช่นนี้ ทำให้เราอดคิดไม่ได้เลยที่จะด้อยค่าร่างกายตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ถ้าคุณ หรือคนที่คุณรู้จักพยายามคิดบวกแบบ Body Positivity แล้วรู้สึกว่ามันพูดง่าย ทำใจยาก มันไม่ได้ผล เพราะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม รวมถึงการถูกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานอยู่เรื่อย ๆ

เปลี่ยนมุมมอง

งั้นลองมาเปลี่ยนมุมมองในการมองรูปร่างหน้าตาตัวเองในแบบของ Body Neutrality (ความเป็นกลางของร่างกาย) กันดูไหม

“ฉันรู้ว่าขาฉันใหญ่ มีเซลลูไลท์ มีรอยแตกลาย แล้วยังไง ขาทั้งสองข้างนี้ช่วยให้ฉันเดินได้ วิ่งได้ กระโดดได้ ก้าวขึ้นรถไปทำงานได้แล้วกัน”

จะเห็นได้ว่า Body Neutrality ไม่ได้มองรูปร่างตนเองในแง่ลบ ว่าหน้าเรายังใสไม่พอ เอวฉันยังคอดไม่พอ หรือไม่ได้มองว่า ขาใหญ่ ๆ ของเรา สวย เพอร์เฟ็คแล้ว แต่จะโฟกัสไปที่ฟังก์ชั่นการทำงานของร่างกาย ว่าอวัยวะแต่ละส่วนนั้นสามารถช่วยให้เราดำเนินชีวิตอย่างไรได้บ้าง และที่สำคัญคือ Body Neutrality ช่วยให้เราได้ยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็นโดยแท้จริง โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันจากสังคม หรือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนรอบข้าง

แต่อย่างไรก็ดีทั้ง Body Positivity และ Body Neutrality ก็เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้ทั้งคู่ เพราะเป็นแนวคิดที่ไม่ว่ายังไงก็ส่งผลดีต่อผู้นำไปปรับใช้ ทั้ง 2 ต่างสนับสนุนให้เรารู้สึกพึงพอใจในร่างกาย สีผิว รูปร่าง หน้าตาของตนเอง และไม่ด้อยค่าในสิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์มาให้ รวมถึงเป็นการสนับสนุนให้เรายอมรับความหลากหลายของผู้คนในสังคม

มันดีที่จะรู้สึกดีในทุก ๆ วัน

เราเองก็หวังว่าทุกคนจะรู้สึกดีกับร่างกายของตนเองในทุก ๆ วันเช่นกัน

เขียน : Amitta Pann

ขอเชิญชวนทุกคนที่มีความคิดเกี่ยวกับ อยากทำสังคมให้่ดีขึ้น หรือมีไอเดียในการพัฒนาตนเองรวมถึงความสร้างสรรค์ในการทำสวัสดิการให้ดีขึ้น เข้ามาแชร์และเกิดใหม่กับพวกเราใน
Line Open chat
“Smart BangKhunThian By TEDx”
https://line.me/…/N0AwPq0t1f8eckaaNSTIqsfyZYoGsdwGl65dg…

หากคุณชอบบทความนี้

อย่าลืมกดติดตาม เพื่อไม่พลาดการ “เกิดใหม่” ไปพร้อมกับพวกเรา

มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อพัฒนาสังคมกันต่อได้ที่
FB : TEDxBangkhunthian
IG : https://www.instagram.com/tedxbangkhunthian/
Website : https://tedxbangkhunthian.com

#Bodyneutral #Bodyneutrality #Bodypositivity #Realsizebeauty

#Beautystandard #Beautyprivilege

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่