เมื่อพูดถึงพิธีแต่งงาน สิ่งแรกๆ ที่นึกถึงอาจเป็น ‘สินสอด’ และทรัพย์สินที่เจ้าบ่าวต้องจ่าย แท้จริงแล้ว ‘สินสอด’ เป็นสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ ในการใช้ชีวิตคู่ หรือมีไว้เพื่อเป็นไปตามขนบธรรมเนียม ? เงินทองที่วางกองเป็นสิ่งที่มีไว้โอ้อวดแต่ปราศจากความรักและความหมายของการใช้ชีวิตคู่ที่แท้จริงหรือเปล่า ?
สินสอด คือ?
ก่อนอื่นมารู้จักคำว่า ‘สินสอด’ กันก่อน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายว่า เป็นเงินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงที่จะจัดอีเว้นท์แต่งงานเป็นค่านํ้านม ข้าวป้อน หรือ (กฎ)ทรัพย์สิน หรือผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
ทำให้สินสอดกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในพิธีการการสมรส เนื่องจากมีการสืบทอดมาอย่างยาวนานตั้งแต่รุ่นยาย รุ่นแม่ สู่รุ่นลูก จึงไม่แปลกที่จะต้องมีการเรียกค่าสินสอดเกิดขึ้น แต่ในยุคปัจจุบันนี้ สังคมได้มีการเปลี่ยนผ่านของความคิดมากขึ้น ผู้หญิงที่แต่งงาน ไม่จำเป็นเพียงต้องเป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูก ดูแลสามีเพียงอย่างเดียว โดยมีสินสอดเป็นข้อกำหนด
แต่งงาน
การแต่งงาน คือการที่ทั้งสองฝ่ายยินยอมและยินดีจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ดังนั้นคนบางกลุ่มจึงคิดว่า ค่าสินสอดนั้น ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น ขอแค่มีความเข้าใจ ช่วยกันดูแลครอบครัวทั้งสองฝ่ายก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มที่คัดค้านการยกเลิกค่าสินสอดเกิดขึ้น
คุณเรืองรวี พิชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา (GDRI) กล่าวว่า สินสอดกลายเป็นค่านิยม ซึ่งไม่ได้ให้คุณค่ากับความเสมอภาคหญิงชายเลย ที่นำมาซึ่งระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่ ที่ผู้ชายในสังคมหลายคนยังคงคิดแบบ
“ภรรยาที่ดีต้องมีสกิลทำแกงส้ม”
คำคม
ผู้ชายหลายคนก็อาจจะคิดแบบเรื่องแกงส้ม ได้เธอมาแล้ว ก็ตอบแทนหน่อยสิ แต่มันกลายเป็นการที่ได้คนเข้าบ้านไปเป็นคนรับใช้ คนมาบริการ นอกจากเป็นภรรยาแล้ว ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง ไม่เคารพความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ปัญหาใหญ่อีกอย่าง อาจอยู่ที่พ่อแม่ที่ยังติดยึดกับประเพณีดั้งเดิม ที่มาจากระบบคลุมถุงชน ซึ่งกลายมาเป็นเรื่องหน้าตาทางสังคม เป็นพันธนาการของคนที่ชอบแบกหน้าตัวเอง เป็นเรื่องทุนนิยมที่ครอบงำ
คุณเรืองรวี กล่าวเสริมว่า “ถ้ามีการยกเลิกระบบสินสอด ก็ควรจะมีการแก้กฎหมาย หรือ ยกเลิกกฎหมายไปเลย เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย เช่นเดียวกับที่แก้กฎหมายเรื่องการนอกใจ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ”
คุณปรานม สมวงศ์ ตัวแทนองค์กรโปรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล ก็ไม่เห็นด้วยกับเรื่องสินสอด โดยระบุว่า สินสอดเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้หญิงกับครอบครัวผู้หญิง ที่ผู้ชายเกี่ยวข้องโดยตรง อาจกล่าวได้ว่า สินสอดคือส่วนหนึ่งของความคาดหวังจากครอบครัวและสังคมที่มีต่อคนที่จะอยู่ด้วยกันว่าจะต้องมีวิถีชีวิตเป็นอย่างไร
ฉะนั้นเรื่องสินสอด มาถกเถียงกันว่าควรมีหรือไม่มี อาจจะไม่มีทางจบ ต้องย้อนกลับไปคุยกันเรื่องเชิงโครงสร้างสวัสดิการของรัฐไทยที่ไม่เอื้อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในยามบั้นปลาย ครอบครัวจึงต้องหาทางออกเอง ด้วยการคาดหวังความมั่นคงจากการรับสินสอด เป็นตัววัดว่าคู่รักจะอยู่ด้วยกันรอดหรือไม่ในทางหนึ่ง
สิ่งที่ควรเป็น
ดังนั้น การมีชีวิตคู่ไม่ควรให้เรื่องของมูลค่ามาเป็นปัจจัยเดียวที่ตัดสินความรู้สึกกันและกัน แต่ควรคำนึงถึงเรื่องของคุณค่าทางจิตใจ คุณค่าของความรักที่คนสองคนมีต่อกัน เพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อสร้างครอบครัวกันไป พวกเขาก็ต้องช่วยกันทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว โดยที่ทั้งคู่จะเป็นคู่ชีวิต อยู่กันไปถึงยามแก่เฒ่าอย่างมี ความสุข มากกว่าเอาสินสอดมาเป็นปัจจัยตั้งต้นสำคัญเท่านั้น
แบบนี้แล้ว เพื่อน ๆ ละ คิดว่าค่าสินสอดยังจำเป็นใน พ.ศ. นี้อยู่ไหม ?
ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อเกิดใหม่ไปกับเราที่ TEDxBangkhunthian
.
เขียนและเรียบเรียงโดย : Jithlada Donchai
ภาพโดย :
Facebook : TEDxBangKhunThian
Instagram : tedxbangkhunthian
YouTube : TEDxBangKhunThian
Website : tedxbangkhunthian.com