ผู้หญิงไทยไม่ได้อยากใส่แค่กระโปรง ตุ๊กตาเป็นของผู้หญิง หุ่นยนต์เป็นของผู้ชายฉันใด กระโปรงเป็นของผู้หญิง กางเกงเป็นของผู้ชายฉันนั้น ตั้งแต่สมัยโรงเรียน มหาวิทยาลัย จนไปถึงชีวิตในวัยทำงาน
เคยสงสัยกันไหม ว่าทำไมกระโปรงต้องคู่กับผู้หญิง
ผู้หญิงจำเป็นต้องใส่กระโปรงไปเรียน ไปทำงานจริงหรอ ?
ในไต้หวันได้มีการยกเลิกนโยบายการแต่งยูนิฟอร์มแบบเจาะจงเพศ
เพื่อลดภาพเหมารวมในเรื่องเพศ (Gender Stereotypes) และการกลั่นแกล้ง (Bullying) ในสถานศึกษา อาชีพครูในสหรัฐอเมริกา
สามารถเลือกใส่กระโปรงหรือกางเกงไปสอนได้ ในฝั่งของนักเรียนเอง ไม่ว่าจะเพศไหนก็สามารถเลือกได้เช่นกันว่าจะใส่อะไร
แล้วทำไมเครื่องแบบของผู้หญิงไทยยังต้องเป็นกระโปรง ในเมื่อการใส่กางเกงก็สามารถเป็นไปเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ และสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้เช่นกัน
ทั้งนี้ยังมีวลีที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ เกี่ยวกับการมีอคติทางเพศ
เช่น การไล่ผู้ชายให้ไปใส่กระโปรง ซึ่งหมายความว่า
ผู้ชายคนนั้นประพฤติตัวไม่เหมาะสมกับความเป็นชาย ดังนั้นให้ไปใส่กระโปรงที่เป็นของผู้หญิงซะ
ซึ่งยิ่งตอกย้ำอคติทางเพศที่มองว่าชายเป็นใหญ่ และเพศอื่น ๆ เป็นเพียงเพศที่มีสถานะรองลงมา
สังคมในปัจจุบันยังคงใช้การแต่งตัวในการระบุเพศวิถี และยังคงคาดหวังให้เพศไหน ต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร
ท่ามกลางความหลากหลายทางเพศ ที่ไม่ได้มีเพียงชาย และหญิง
เสื้อผ้าจำเป็นต้องแบ่งเพศจริง ๆ หรอ?
หรือความจริงแล้วมันเป็นเพียงกรอบที่สังคมตีตราขึ้น และเราตัดสินกันไปเองว่ามันควรต้องเป็นแบบนั้น ไม่ว่าเราจะนิยามตัวเองว่าเป็นเพศไหน เราก็ควรจะมีสิทธิในการเลือกเสื้อผ้าที่จะใส่ และไม่ควรมีใครถูกตัดสินว่าเป็นเพศอะไรจากการแต่งตัว
ถึงเวลาแล้วหรือยังในการหลุดพ้นจากกรอบเดิมของสังคม
พวกเราชาว TEDxBangKhunThian ขอเชิญชวนให้คุณ
มาร่วมกันปลดแอกเสื้อผ้ากับขีดจำกัดทางเพศ!
ผ่านแฮชแท็ก #เสื้อผ้าไม่มีเพศ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย
ให้กับบุคคลทุกเพศ และเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นไปด้วยกัน
TEDxer Credits
- เขียน : Amitta Pann
- ภาพ : Sine