สมรสเท่าเทียม ในประเทศที่มีศีลธรรมอันดี
“…การไม่กำหนดเพศในการสมรสอาจมีผู้ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)
มาจดทะเบียนเพื่อหวังผลประโยชน์ในสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ…”
“…อันอาจส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน”
เป็นคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณี #สมรสเท่าเทียม
หากเราตั้งคำถามว่า…
คำถามที่ 1 | การกำหนดเพศมีการจดทะเบียนเพื่อหวังสวัสดิการของรัฐอยู่หรือไม่ในความเป็นจริง ?
เรามักพบเห็นได้บ่อยในกรณีคนต่างชาติแต่งงานกับคนไทย หากเราไม่ปฏิเสธมัน
ดังนั้นการวินิจฉัยดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญที่กล่าวอ้างเรื่องความมั่นคงของรัฐ และ
“ศีลธรรมอันดีงาม” มันสะท้อนว่าเรายังจำกัดเพศอยู่
และอาจเหมารวมว่าการสมรสตามเพศสภาพจะไม่มีปัญหาเหล่านี้อยู่หรือไม่?
หรือในทุก ๆ กรณีที่มีการสมรส คู่นั้น ๆ สมรสเพื่อหวังผลประโยชน์ทุกกรณีหรือไม่?
คำถามที่ 2 | และหากเป็นประชาชนของรัฐที่มีการเสียภาษีอย่างถูกต้อง การได้รับผลประโยชน์ทางสวัสดิการของรัฐ เป็นเรื่องที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐขนาดนั้นเชียวหรอ?
คำถามที่ 3 | การสมรสเท่าเทียมเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ในประเทศที่มี ศีลธรรมอันดีของประชาชน? แล้วประเทศที่รับรองการสมรสเท่าเทียมคือประเทศที่ไม่มีศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่?
ประเทศตัวอย่าง
ประเทศที่ถูกเรียกว่าเมืองผู้ดีอย่าง สหราชอณาจักร ก็มีการรับรองในการสมรสเท่าเทียมด้วยเช่นเดียวกัน และในกรณีของสิทธิประโยชน์ทางภาษี สหราชอาณาจักรนั้น คู่ชีวิตได้รับการยกเว้นภาษีมรดกเช่นเดียวกับคู่สมรส
การสมรสนอกจากการเป็นการประกาศเป็นที่ประจักษ์ว่าใครสักคนรักกันแล้วนั้นยังมีความจำเป็นในกรณีที่ ทั้งคู่มีสิทธิในการรับรองบุตร และ บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย, สิทธิในการรับมรดกในกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต, สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา และ คดีแพ่ง หรือ เรียกร้องค่าเสียหายแทนกันได้, สิทธิในการรับมรดกในกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต
ให้ลองนึกถึงสถานการณ์
ที่เราอยู่กันสามี ภรรยาไม่มีญาติพี่น้อง และวางแผนที่จะไม่มีลูก อยู่ดูแลกันจนแก่ และถัดมาภรรยา เราป่วยเป็นมะเร็ง ซึ่งดูแล้วเรามีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เราไม่สามารถจ่ายไหว แต่เราโชคดีที่มีสิทธิในการรักษาและก็สามารถใช้สิทธินั้นให้ภรรยาของเราได้ แต่ภรรยาก็เสียชีวิตในเวลาถัดมาสามีจึงมีสิทธิในการจัดการงานและจัดสรรทรัพย์สินของภรรยาที่มีอยู่อย่างสมควร
แต่ในกรณีเดียวกันนี้เองหากเป็นสามีภรรยาที่มีเพศสภาพที่แตกต่างกัน สิทธิในการเข้าถึงและเข้าไปดูแล หรืออำนาจการตัดสินใจแทนในเรื่องต่าง ๆ ในกรณีฉุกเฉินจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยและบุคคลคนนั้นที่ป่วยเป็นมะเร็งก็ต้องตายจากไปอย่างโดดเดี่ยวโดยที่คู่ชีวิตของเขาต้องอยู่กับความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถช่วยอะไรเขาได้เลยทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ความผิดของเขา
หาก สมรสเท่าเทียมเกิดขึ้นได้จริง
เมื่อถูกถามว่า “เป็นอะไรกับคนไข้ ?” ก็สามารถตอบได้อย่างเต็มปาก
“สามี, ภรรยา” โดยไม่ต้องมีบรรยากาศกระอักกระอ่วนอีกต่อไป และชอบด้วยกฏหมาย
ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์ การมีความรักก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร
ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ เพศไหน หรือเป็นใคร
ทุกคนก็ล้วนสามารถมีความรักได้
เพราะความรักเป็นสิ่งที่กลั่นกรองด้วยความบริสุทธิ์
ในความจริงอันโหดร้ายของสังคมเรา
มีกฎหมายที่บัญญัติไว้ว่า
“…มาตรา 1448 เป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติและจารีตประเพณีที่มีมาช้านาน วัตถุประสงค์ของการสมรส คือการที่ชายและหญิงอยู่กินกันฉันสามีภริยาเพื่อสร้างสถาบันครอบครัว มีบุตร ดำรงเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติ และมีการสืบทอดทรัพย์สิน มรดก มีการส่งต่อความผูกพันกันระหว่างพ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ซึ่งการสมรสในระหว่างบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอาจไม่สามารถสร้างความผูกพันอันละเอียดอ่อนดังกล่าวได้…”
ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า
บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่สามารถมีการสมรสได้
เพราะผิดจารีตประเพณีอันแสนช้านาน
“เนื่องจากไม่สามารถมีรักที่เหมือนกับรักของคู่ชายหญิงได้”
การที่มนุษย์ซึ่งเป็นสปีชีส์ที่เรียกว่า มนุษย์ที่ฉลาด หรือ Homo Sapiens ล่วงเป็นสปีชีส์ที่ติดมากับมนุษย์ทุกคนแบบเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเพศไหน ไม่ว่าจะเกิดมาทุพพลภาพหรือไม่
เราต่างเป็นมนุษย์เหมือนกัน
แต่ทำไมถึงมีความรัก “เหมือนกันไม่ได้”
TEDxBangKhunThian ขอสนับสนุนและร่วมผลักดัน
ให้การ #สมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทย
หากคุณชอบบทความของเรา
อย่าลืมกดติดตาม เพื่อไม่พลาดการ “เกิดใหม่” ไปพร้อมกับพวกเรา
Facebook : TEDxBangkhunthian
Instagram : tedxbangkhunthian
Credits Volunteers
Content Creator: Phakkearth.
Graphic Designer: Sine Pitchapa
Editor: Karnnikro.
#TEDxBangKhunThian สมรสเท่าเทียม #LGBTQ #Reborn